วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สอบปลายภาค


1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา 
เทศบัญญัติ 

กฎหมายรัฐธรรมนูญ  หมายถึง กฎหมายขั้นมูลฐานของรัฐ ซึ่งกล่าวถึงกฎเกณฑ์ที่จัดวางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง เป็นกฎหมายที่อยู่ในฐานะสูงกว่ากฎหมายอื่น ๆ ทั้งปวง ซึ่งกฎหมายอื่น ๆ จะมีวิธีการจัดทำหรือมีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์การปกครองทางด้านการเมืองอย่างกว้าง ๆ กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดรูปบริหารในทางการเมืองของรัฐหรือประเทศ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์  และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ  (Sanction) สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง

พระราชบัญญัติ หมายถึง บทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐ ธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

พระราชกำหนด  คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อตราขึ้นแล้วจะต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็ตกไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้ปฏิบัติไปตามพระราชกำหนดนั้นแล้ว แต่ถ้ารัฐสภาอนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติต่อไป 
พระราชกฤษฎีกา  คือ อนุบัญญัติ เป็นกฎหมายรองจากพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งพระรมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกานั้นต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด  
เทศบัญญัติ  คือ กฎหมายข้อบังคับกฎเกณฑ์, หรือบทกฎหมายที่เทศบาลตราขึ้น เพื่อใช้บังคับภายในเขตเทศบาลนั้น ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี
ผู้พิจารณา ได้แก่สภาเทศบาล
ผู้อนุมัติ ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ตรา ได้แก่ นายกเทศมนตรี
ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีมิได้ ให้คณะเทศมนตรีมีอำนาจออกเทศบัญญัติเพื่อพิจารณาอนุมัติในการประชุมสภา เทศบาลคราวต่อไปถ้าสภาเทศบาลอนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นเทศบัญญัติต่อไป ถ้าสภาเทศบาลไม่อนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวก็เป็นอันตกไปแต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็น ไประหว่างใช้เทศบัญญัติชั่วคราวนั้น ประกาศใช้ ณ ที่ทำการสำนักงานเทศบาล

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร                                                                                                                                                                                                                       
                      โดยหลักแล้วรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งจะเป็นการปกครองในประเทศที่ใช้หลักการ ปกครองโดยหลักนิติธรรม (Rule of law) หรือหลักบังคับแห่งกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้มีการใช้กฎหมายเป็นสิ่งที่สร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น ความสำคัญสูงสุดของรัฐธรรมนูญในทางรัฐศาสตร์คือการเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ผู้ปกครองหรือนักการเมืองมาละเมิด ในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญก็มีความสำคัญในด้านอื่นด้วยเช่นกัน เพราะรัฐธรรมนูญจะเป็นกรอบทางกฎหมายที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางการเมืองการปกครองหรือองค์กรทางการเมือง เช่น กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล รัฐสภา และศาล เป็นต้น โดยรัฐธรรมนูญจะระบุขอบเขตของอำนาจของแต่ละองค์กรว่ามีเพียงไร และมีความสัมพันธ์กับองค์กรการเมืองอื่นอย่างไร

โดยหลักแล้ว มาตราต่าง ๆ ที่จะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะตอบสนองต่อหลักการใหญ่ ๆ ที่ได้กล่าวไปนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้รัฐธรรมนูญไม่สามารถใส่เรื่องทุกเรื่องไว้ได้หมด เพราะเป็นไปไม่ได้ รายละเอียดต่าง ๆ ในหลาย ๆ เรื่องจึงต้องระบุไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือแม้แต่ในพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อรองรับหลักการในรัฐธรรมนูญ ถ้ามีรัฐธรรมนูญแล้วไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญที่ทำให้ปากท้องของประชาชนอิ่มแล้ว จะมีรัฐธรรมนูญไปทำไม ซึ่งจากข้อถกเถียงต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทำให้เกิดความต้องการทำให้หลักการต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญ นอกจากจะเป็นการสร้างหลักประกันให้กับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว ยังต้องมีอะไรที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการสนองตอบต่อความต้องการในชีวิตของประชาชน แต่ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าเราไม่สามารถที่จะกำหนดความต้องการทุกอย่างลงไว้ในรัฐธรรมนูญได้หมด ดังนั้น ความเหมาะสมของขอบเขตของมาตราต่าง ๆ ที่จะระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อสนองต่อการให้ปากท้องอิ่ม จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเช่นกัน 

3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล                                                                                                                                                                 
ข้าพเจ้าเห็นว่า ไม่ควรแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง เพราะกฎหมายข้อนี้เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุด ซึ่งในปัจจุบันข้าพเจ้าเห็นว่าการอ้างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่คำนึงถึงการแก้ไขเพื่อพัฒนาประเทศ เป็นความคิดเห็นที่เห็นแก่ตัวมาก และที่สำคัญยังเกี่ยวโยงกับพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของชนชาวไทย จึงสรุปได้ว่า ไม่ควรแม้แต่จะคิดแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพาทขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน แดน                                                                                                                                                                                
ข้าพเจ้าคิดว่าปัญหาเขาพระวิหารและความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีที่สำคัญต่อคนไทยทุกคน  เนื่องจากว่า  ข้อพิพากเขาพระวิหารนี้จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กับกัมพูชาไปหรือไม่  วิธีการป้องกันไม่ให้ไทยต้องเสียดินแดนที่บริเวณเขาพระวิหารก็คือ  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะต้องช่วยกันคิดหาวิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะการรวมหรือประชุมผู้รู้ นักวิชาการหรือนักกฎหมาย ร่วมกันหาทางแก้ไขให้เป็นไปในทางเดียวกัน แล้วอาจมีการเสนอกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานี้มาใช้ดำเนินการแก้ไข  นำกฎหมายระหว่างประเทศ มาใช้ในการแก้ปัญหา และที่สำคัญคือ ไม่ควรปล่อยให้เขาพระวิหารต้องกลายเป็นของกัมพูชา เพราะความเห็นแก่ได้จากผู้มีอำนาจทางการเมือง ทุกคนต้องระวังเรื่องนี้ให้มากที่สุดเพราะบทบาทกับความหลังมันต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน  เพราะอาจจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้  จึงจะต้องมีการร่วมกันพิจารณาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงาน  ตามนโยบายของรัฐบาล  ไม่ควรมีการกลั่นแกล้งกีดกันฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งสิ้น ด้วยกันเอง เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและคลี่คลายในที่สุด 

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ข้าพเจ้าเห็นด้วย เพราะรัฐธรรมนูญเปรียบเสมือนคำสั่งที่เป็นแนวทางในการกระทำอันใดต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เป็นแม่บทในการทำให้การศึกษาไปในทางที่ก้าวหน้าและถูกต้อง ดังนั้นหากพระราชบัญญัติการศึกษาเป็นไปในทางที่ถูกต้องตามธรรมนองครองธรรมแล้ว รัฐธรรมนูญการศึกษาก็จะดีตามด้วยเช่นกัน

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
               การศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
                     1.1  การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
                     1.2  การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
                     1.3  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
                             - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
                             - การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท
                                     1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
                                     2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบเช่นนี้ หมายถึงการศึกษาที่จัดรูปแบบไว้แน่นอนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ส่วนใหญ่จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว การศึกษาในระบบอาจจัดในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกลก็ได้
การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น
การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษารูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจเป็นประโยชน์กับตนได้ และสามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงานอื่นศึกษาเล่าเรียนได้ จึงเรียกว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้รูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยมีหลากหลาย เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชม การชมการสาธิต การรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสืบค้นเนื้อหาสาระจากอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากรัฐมีหน้าที่ร่วมกับชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารและครูควรเข้ามามีส่วนใกล้ชิดร่วมมือกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายความว่า  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา  หมายความว่า  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดในสถานศึกษาและเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจ-สอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพ                                                                 
การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล                                                                                                                                        
การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
                ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
 ครู หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
                คณาจารย์  หมายความว่า  บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
 ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
 ผู้บริหารสถานศึกษา  หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา  หมายความว่า  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
สถานศึกษา หมายความว่า  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียนวิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร

ข้าพเจ้ามองว่า การจัดการศึกษาควรเป็นไปตามปรัชญาการศึกษาดังนี้
ปรัชญาทางการศึกษา  เป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา หรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
กล่าวได้ว่า ปรัชญาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  มีเป้าหมายเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลกได้         เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
1.  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
4.  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
5.  เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
จะเห็นได้แล้วว่าการจัดการศึกษาตามปรัชญาการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อทุกคนเป็นอย่างดี

8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ผิด หากดูตามเจตนาของผู้เข้ามาสอน หากผู้นั้นมีความตั้งใจจริงที่จะสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน แต่อาจเนื่องด้วยผู้สอนมีข้อจำกัดหรือข้อจำเป็นบางอย่างหรืออาจไม่ทราบรายละเอียดในทางกฎหมายการศึกษาตามมาตรา 46 ที่ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
ดังนั้นเพื่อให้การนำเนินการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ผู้สอนควารศึกษากฎหมายการศึกษา และดำเนินการขออนุญาติหรือขอใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภาให้ถูกต้อง

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
      (1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
                    (2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                    (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
                   (4) ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
                   (5) ต้องเป็นผู้ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ ตามกลุ่มวิชา/สาขาวิชาเอก
              (6) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูผู้สมัครสอบต้องนำมาแสดงในวันสมัครสอบและวันรายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ และแต่งตั้ง หากไม่มีหรือไม่นำมาแสดงถือว่าขาดคุณสมบัติ จะเรียกร้องสิทธิใด ๆ มิได้
               (7) ไม่เป็นพระภิกษุสงฆ์ หรือสามเณร นักพรต นักบวช

 10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
จากที่ข้าพเจ้าได้เรียนวิชานี้ นอกจากข้าพเจ้าจะได้รับเนื้อหาและองค์ความรู้ในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการประกอบอาชีพครูในอนาคตแล้ว ข้าพเจ้ายังได้รับความรู้ เรื่องการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์Weblog ที่ข้าพเจ้าสามารถนำการทำ blog นี้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน ชีวิตประจำวัน และการทำงาน ได้เป็นอย่างดียิ่ง การสอนโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ของครูผู้สอนเองนั้นก็มีความเหมาะสม ครูผู้สอนยังสอดแทรกเนื้อหาความรู้มากมายที่เป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตเป็นอย่างดี  เนื่องจากครูผู้สอนความรู้ในด้านนี้เป็นอย่างดี มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง ได้รับประสบการณ์จริง และเป็นแนวทางในการใช้งานในอนาคตด้วย  เป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้แบบใหม่ที่ทันสมัยและสะดวกต่อตัวครูผู้สอนแล้ผู้เรียน ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการ และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ข้าพเจ้าให้เกรด A เพราะว่าวิชานี้เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพในอนาคต และผู้เรียนต้องจำเป็นต้อการเข้าใจในเนื้อหาในรายวิชานี้ การนำเทคโนโลยี weblog มาใช้ในการเรียนการสอนวิชานี้ก็เป็นวิธีกี่ที่ดีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วและง่ายยิ่งขึ้น และข้าพเจ้าคิดว่าจะได้เกรด A เพราะว่าข้าเจ้ามองว่าตนเองว่าข้าพเจ้ามีความพยายามที่จะเรียนรู้ในเนื้อหา รวมทั้งการจัดทำ blog ให้มีความเหมาะสมได้อย่างเต็มที่และดีที่สุด โดยข้าเจ้าจะสามารถเข้าใจในการเรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยี Weblog มาใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งความสะดวกสบายในการเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และติดตามความเคลื่อนไหวได้ทุกที่ทุกเวลา สิ่งที่ข้าพเจ้าได้นั้นคือมีความรู้ทั้งในเนื้อหารายวิชาและเทคโนโลยี blog ที่เป็นตัวช่วยให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจ และสะดวกมากยิ่งขั้น