วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

คำนิยามเกี่ยวกับกฏหมายการศึกษา  
          การศึกษาในระบบ คำนิยาม เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัด และการประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ได้แก่ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งของรัฐและเอกชน
          การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิีธีการจัดการศึกาา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและปรเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
          การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยอาศัยจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่าง ๆ การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
         การศึกษา คำนิยาม การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยกระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ การฝึก การอบรม การสืบสารวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรุ้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุุคคลเรียนรู้ตลอกชีวิต 
         การศึกษาขั้นพื้นฐาน คำนิยาม การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
         การศึกษาตลอดชีวิต คำนิยาม การศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         สถานศึกษา คำนิยาม สถานพัฒนาเด็กประถมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน สถาบัน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาอื่น หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
         สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คำนิยาม สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         ผู้สอน คำนิยาม ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆ
         ครู คำนิยาม บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
         บุคลากรทางการศึกษา คำนิยาม ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศ และการบริการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
         




ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น